ยาทากันยุง
mosquito repellents
ปัจจุบันยาทากันยุงเป็นวิธีป้องกันที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ราคาไม่แพงและใช้สะดวก อาจอยู่ในรูปของเหลว ครีมหรือโลชั่น วุ้น (gel) น้ำ (liquid) น้ำมัน(Oil) และแป้งฝุ่น(talcum powder)
ผลิตภัณฑ์ยาทากันยุง คุณสมบัติในการป้องกันไม่ให้ยุงมากัด ในท้องตลาดส่วนใหญ่จะใช้ DEET (N-Diethyl-m-toluamide) เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญในการไล่ยุง DEET ชนิดน้ำอาจใช้แอลกอฮอล์ผสม เนื่องจากสารดังกล่าวละลายในน้ำไม่ดี ต้องระวังในรายที่แพ้แอลกอออล์ นอกจากนี้ในยาทากันยุงอาจมีสารอื่นๆ ช่วยแต่งสีหรือกลิ่น
ยาทากันยุงแบบทาผิวที่มี DEET เป็นสารออกฤทธิ์หลัก ควรคำนึง
- ใช้ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ข้างผลิตภัณฑ์อย่างเคร่งครัท
- ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี
- ผู้ใหญ่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี DEET อยู่ระหว่าง 15-20 % เด็กไม่ควรเกิน 10%
- ก่อนใช้ควรทดลองอาการแพ้ ที่ข้อพับของแขนดุก่อน
- ห้ามทาบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น บริเวณใกล้ตา ริมฝีปาก เปลือกตา ผิวที่มีรอยถลอก หรือมีแผล
- ไม่ควรทาซ้ำในช่วงเวลาสั้นๆ ส่วนใหญ่ทาหนึ่งครั้งจะกันยุงได้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง
- ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นประจำ หรือใช้ในปริมาณมาก
- หากจำเป็นต้องใช้กับเด็กให้ใช้เพียงเล้กน้อยบริเวณเสื้อผ้า แทนที่จะทาผิวหนังโดยตรง
- ไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์ และผู้สูงอายุ
- ไม่ควรทายากันยุงที่มือเด้ก เพราะเด้กอาจเผลอขยี้ตา หรือหยิบจับอาหารใส่ปาก
- หากพบอาการแพ้ ให้ล้างด้วยน้ำสบู่ทันที รีบไปพบแพทย์พร้อมนำยากันยุงที่ใช้ไปด้วย
- หากเผลอรับประทานเข้าไปควรทำให้อาเจียนโดยใช้นิ้วล้วงคอ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที