สเปรย์ ฉีดยุง อันตราย
ร้านค้าใด เอาเครื่องดื่ม ขนมใส่ลงไปในถุงเดียวกับ สเปรย์กำจัดแมลง ฝากด่ากลับไปซะที สารมีพิษไม่ควรอยู่รวมกับอาหาร แม้ว่าทางโรงงานจะมีชั้นพลาสติกหุ้มอยู่ก็ตามอั๊วก็ไม่เข้าใจจริงๆ กับการจะขายของในปัจจุบัน และเห็นโฆษณาอยู่หลายชิ้นแล้วขัดตา ยกตัวอย่าง การกำจัดยุง สมัยก่อนอั๊วใช้กระบอกฉีดยุง โดยสามารถเติมได้ และเพื่อให้รู้อันตรายและพึงเลี่ยง เราก็ใส่สารให้มันมีกลิ่นเหม็น เพื่อที่เราจะหลีกเลี่ยงโดยธรรมชาติอยู่แล้ว การใช้งานฉีดไล่ยุงภายในห้อง ก็ให้ปิดหน้าต่าง ก่อนที่จะฉีดไล่ยุง สัก 10-20 นาที จากนั้น เปิดหน้าต่างให้ลมถ่ายเทได้สะดวกและพึงหลีกเลี่ยงให้เด็ก สตรีมีครรภ์ และสัตว์เลี้ยง อยู่บริเวณใกล้เคียง หากไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้สารมีพิษภายในบ้าน ให้ไปดูแลตุ่มน้ำ ที่น้ำขัง ไปดุต้นเหตุที่จะเกิดลูกน้ำ
สูตรส่วนประกอบโดยทั่วไปของสเปรย์ คือ สารสำคัญหรือสารออกฤทธิ์กำจัดแมลง+ตัวทำละลาย(หรือ Solvent) + น้ำหอม + ตัวขับดัน (propellant) ซึ่งจะเป็นตัวที่ก่อให้เกิดแก๊สฉีดพ่นออกมา ส่วนใหญ่ใช้ LPG (Propane + Butane) ทั้งนี้ ในด้านอันตรายเราจะสนใจในตัวสารออกฤทธิ์หรือสารสำคัญ ซึ่งอาจแบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ Pyrethroid, Organophosphte และ Carbmate ในส่วนของความเป็นพิษในทางวิชาการแล้ว Pyrethroid จะมีความเป็นพิษน้อยที่สุด รองลงมาคือ Organophosphate (OP) และ Carbanate แต่ในผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนกับ อย. แล้ว จะประกอบด้วยสารดังกล่าวในปริมาณที่พอเหมาะ (ไม่สูงเกินไป) ซึ่งหากใช้ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องและใช้อย่างถูกต้องตามวิธีใช้และ คำเตือนที่ระบุที่ฉลากแล้ว ก็จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดใด
แม้ว่าทางผู้ผลิตจะอ้างว่าเป็นสารมีพิษน้อย และสลายไปอย่างรวดเร็ว แต่ก็มิควรจะใส่น้ำหอม และละเลยต่ออันตรายที่แฝงอยู่ และผู้บริโภคเชื่อยชาต่อการรับรู้ ต่อราบละเอียดที่ข้างกระป๋อง อั๊วก็ได้แต่พูดๆๆ
อืม...รู้แล้ว อาแป่ะเอาตังทอนมาไวๆ